Quick Contact

โดปามีน สารเคมีในสมอง ที่มีบทบาทกับอารมณ์และคงามรู้สึก

โดปามีน

โดปามีน หากย้อนเวลากลับไปในช่วงคริศต์ศักราช 1923 จะพบว่า… โลกนี้ได้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการค้นพบ “สารโดปามีน” สารเคมีสำคัญในร่างกายที่มีบทบาทต่อการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก !!

Arvid Carlsson เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1923 ที่เมือง Uppsala ประเทศสวีเดน เขาเป็นผู้ผู้ค้นพบสารโดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950 และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-dopa สามารถรักษาอาการของโรคพาร์กินสันได้ จากผลงานนี้เองทำให้ Arvid Carlsson ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000

dopamine สารเคมีในสมองที่จัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีน สร้างมาจา
กกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส เป็นทั้งสารสื่อประสาทที่คอยกระตุ้น โดพามีนรีเซพเตอร์ (dopamine receptor) และเป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) โดยเมื่อโดปามีนถูกหลั่งออกมาแล้วจะส่งผลต่ออารมณ์ให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น และไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว

โดปามีน เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่ชอบพอ จากการศึกษาทดลองในหนู พบว่าเมื่อทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งในขณะที่โดปามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข เรียกว่า reward circuit หากถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมซ้ำ ๆ ก็จะหลั่งโดปามีนออกมาตามปกติ แต่หากไม่ถูกกระตุ้นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมเดิม สารโดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโหหรือเซื่องซึมได้
ด้วยเหตุนี้บางครั้งจึงมีการจัด โดปามีนเป็นสารเคมีแห่งรัก (Chemicals of love) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกหรือจับคู่ ซึ่งมีผลงานวิจัยอ้างอิงจากมหาวิทยาลัยอีโมรี ได้ทำการทดลองโดยฉีดโดปามีนใส่หนูตัวเมียทึ่เอามาจากหนูตัวผู้ตัวหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าหนูตัวเมียเลือกจับคู่กับหนูตัวผู้ที่เป็นเจ้าของโดปามีนนี้จากกลุ่มหนูทั้งหมดที่อยู่รวมกัน

นอกจากนี้แล้วระดับโดปามีนส่วนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณโดปามีนน้อยเกินไป จะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งโรคทางประสาทที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอากรสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากการเสื่อม และตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด และในทางกลับกัน หากร่างกายมีสารโดปามีนในสมองมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองส่วนฟรอนทัล ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจำ ก็จะทำให้เกิดอาการป่วยทางจิต ซึ่งผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีระดับโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ

ดังนั้นเมื่อ สารโดปามีน ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ของเราเช่นนี้ เราจึงควรรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เนื่องจากโดปามีน ผลิตได้จากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน เช่น รับประทานพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ ถั่วเหลือง เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารโดปามีนอย่างเหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไปค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *