Quick Contact

ดูแลตัวเองทั้งกายใจ เคล็ดลับสุขภาพดีที่ทำได้ทุกวัน

ดูแลตัวเองทั้งกายใจ

ดูแลตัวเองทั้งกายใจ การดูแลตัวเอง (Self-Care) อาจเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับใครหลายคน ideamatterx ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า การดูแลตัวเองจะต้องทำเมื่อ เกิดความเจ็บป่วยขึ้นเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว การดูแลตัวเองคือการใช้เวลา ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งทางกายและจิตใจ ซึ่งควรทำอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องทุกวัน เพื่อให้เรามีสุขภาพ และความเป็นอยู่ ที่ดีในระยะยาว

แนวคิดเรื่องการดูแลตัวเอง เริ่มได้รับความนิยมในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภท ครอบคลุมทั้งการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทั้งนี้ ยังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า การดูแลตัวเองคืออะไร และทำไมจึงต้องแบ่งเวลาใน แต่ละวันมาดูแลตัวเอง บทความนี้จึงได้รวบรวมเรื่องราว และวิธีเริ่มต้นดูแลตัวเองมาฝากกัน

การดูแลตัวเองหมายถึงอะไร องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดนิยามของการดูแลตัวเองไว้ว่า ความสามารถของบุคคล คนในครอบครัว และชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาสุขภาพ และรับมือกับความเจ็บป่วย และความพิการ ทั้งในกรณีที่มีและไม่มีผู้ให้บริการ ด้านสุขภาพให้การดูแล โดยในบทความนี้ จะพูดถึงการดูแลตัวเอง ในระดับบุคคลเป็นหลัก

ดูแลตัวเองทั้งกายใจ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1. การดูแลสุขภาพกาย (Physical Self-Care) การดูแลสุขภาพกายมีความหมาย ครอบคลุมถึงการ ดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เช่น อาบน้ำและแปรงฟัน ให้สะอาดทุกวัน หมั่นสระผมเป็นประจำ ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น สวมเสื้อผ้าที่สะอาด และไม่อับชื้น และดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาด และพักผ่อนให้เพียงพอ

นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพกาย ยังรวมถึงพฤติกรรม การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ เช่น การไปตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนที่แนะนำ ตามช่วงอายุ การทาครีมกันแดด เพื่อป้องกันผิวถูกทำลายจากรังสียูวี และการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

2. การดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ (Mental And Emotional Self-Care) หลายคนดูแลสุขภาพกาย แต่ไม่ได้ดูแลสุขภาพจิตให้เหมาะสม ซึ่งการดูแลสุขภาพจิต หมายถึงการปรับความคิด และการปฏิบัติตัวให้เกิดความสุข และความสบายใจ ได้แก่

  • ฝึกฝนมุมมองเชิงบวกที่มีต่อตัวเอง เช่น รักตัวเอง เมตตาต่อตัวเอง (Self Compassion) และให้เวลาตัวเองหยุดพัก ซึ่งนอกจากจะ ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพ ของงานหรือหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ
  • รู้จักปฏิเสธสิ่งที่จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ และจัดการกับความเครียด ด้วยกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น แช่น้ำอุ่น เล่นโยคะ นวดคลายเส้น หรือใช้เวลาพักผ่อนกับเพื่อนและครอบครัว
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มทักษะต่าง ๆ เช่น เล่นเกมทายปริศนา และอ่านหนังสือ หรือดูภาพยนตร์ ที่ให้แรงบันดาลใจ

3. การดูแลจิตวิญญาณ (Spiritual Self-Care) การดูแลตัวเองในข้อนี้อาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่การดูแลทางจิตวิญญาณ คือการดูแลตัวเองจากภายใน โดยอาจเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อทางศาสนา เช่น การเข้าร่วมกิจกรรม ทางศาสนาที่ตัวเองนับถือ สวดมนต์ และนั่งสมาธิ บางคนอาจเลือกทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้ผ่อนคลาย และเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง เช่น การจดบันทึกความรู้สึก ในแต่ละวัน การฝึกความเมตตา ต่อตัวเองและผู้อื่น การใช้เวลาดื่มด่ำกับธรรมชาติ

4. การดูแลสุขภาวะทางสังคม (Social Self-Care) การดูแลตัวเองในองค์ประกอบนี้ wbet69 หมายถึงการมีปฏิสัมสัมพันธ์ กับคนรอบข้าง และรักษาความสัมพันธ์ ที่ดีต่อกันแต่บ่อยครั้ง ที่เรามักยุ่งอยู่กับงาน และเรื่องส่วนตัวจนหลงลืม การใช้เวลาร่วมกับคนที่เรารัก เช่น คนในครอบครัวและเพื่อนสนิท ลองหาเวลาทำกิจกรรม ในครอบครัวหรือนัดเจอเพื่อนบ้าง หรือหากไม่สามารถเจอกัน ได้อาจพูดคุยกันทางโทรศัพท์หรือส่งข้อความหากัน ก็จะช่วยลดความเหงา และความเครียด เพิ่มความสุข และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านความจำได้อีกด้วย

การดูแลตัวเองเป็นวิธีการใส่ใจ ตัวเองที่สามารถทำได้ทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มี อาการเจ็บป่วยแล้ว จึงเริ่มดูแลตัวเอง ทั้งนี้ แต่ละคนมีวิธีดูแลตัวเองต่างกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความสะดวก และกิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ ตามความต้องการของแต่ละคน

หากไม่มีเวลาอาจเริ่มต้น จากการนั่งพักสัก 15 นาที ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ หรือฟังเพลงสบาย ๆ ในช่วงบ่าย เพียงเท่านี้ก็ได้ผ่อนคลายความเครียด และดูแลตัวเองอย่างง่าย ๆ จากการทำงานระหว่างวัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *